![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db992ffe13a50/6639b77317da679651a1fbf1_%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%20web%20(209).jpg)
จีนเตรียมส่งยาน ‘ฉางเอ๋อ-6’ สำรวจดวงจันทร์ เย็นนี้ (3 พ.ค.)
![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db968ede13a37/6063345cc13db9afcbe13a84_Clock.png)
7
May
2024
![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db968ede13a37/6063345cc13db9afcbe13a84_Clock.png)
3
May
2024
จีนเตรียมส่งยาน ‘ฉางเอ๋อ-6’ เก็บตัวอย่างจาก ‘ด้านมืด’ ของดวงจันทร์ ครั้งแรกของโลก!
จีนเตรียมปล่อยยาน ‘ฉางเอ๋อ-6’ (Chang'e-6) ขึ้นสู่อวกาศ ในเย็นวันนี้ (3 พ.ค.) เวลาประมาณ 17.27 น. ตามเวลาปักกิ่ง
![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db992ffe13a50/6639ac59b1144d837394018b_%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%20CCTV%20News.jpg)
ภารกิจของยานฉางเอ๋อ-6 คือ การเก็บตัวอย่างจาก ‘ด้านมืด’ หรือ ‘ด้านไกล’ของดวงจันทร์ กลับมายังโลกภายใน 2 เดือน ซึ่งหากทำสำเร็จ นี่จะถือเป็นครั้งแรกของโลกที่มนุษย์ได้เก็บตัวอย่างจากอีกฟากของดวงจันทร์
จากที่ก่อนหน้านี้หลายชาติประสบความยากลำบากในการสำรวจด้านมืดของดวงจันทร์ เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์บนโลกไม่สามารถสื่อสารผ่านสัญญาณวิทยุโดยตรงกับยานอวกาศในพื้นที่ห่างไกลได้
![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db992ffe13a50/6639ad8eb70fad30dab3f2b4_3.webp)
แต่จีนสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ด้วยระบบดาวเทียมสื่อสาร ‘เชวี่ยเฉียว-2’ (Queqiao-2) หรือ ‘แมกพาย บริดจ์-2’ (Magpie Bridge-2) ซึ่งได้ส่งขึ้นไปล่วงหน้าแล้วเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา โดย ดาวเทียม ‘เชวี่ยเฉียว-2’ จะนำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มสื่อสารระหว่าง ‘ฉางเอ๋อ-6’ กับสถานีภาคพื้นดินบนโลก รวมถึงให้บริการสื่อสารสำหรับภารกิจสำรวจดวงจันทร์อีก 2 ครั้งต่อไป ซึ่งมีกำหนดเบื้องต้นในปี 2026 และ 2028 ด้วย
ทั้งนี้ คาดว่ายานฉางเอ๋อ-6 จะใช้เวลาทั้งสิ้น 53 วันในการนำตัวอย่างประมาณ 2 กิโลกรัมจากด้านมืดของดวงจันทร์ กลับมายังโลกได้ในช่วงปลายเดือน มิ.ย. นี้
ที่มา: Xinhua、CCTV News、Washington Post