![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db992ffe13a50/62d906f7c5c035d39c412641_%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A-TAP70.jpg)
5 เส้นทาง เชื่อมจีนตอนใต้ เปิดเส้นทางสู่อาเซียน
![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db968ede13a37/6063345cc13db9afcbe13a84_Clock.png)
21
July
2022
![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db968ede13a37/6063345cc13db9afcbe13a84_Clock.png)
21
July
2022
นอกจากเส้นทาง R3A หรือ R3B ที่หลายคงคงได้เคยมีโอกาสเดินทางด้วยรถผ่านจากเชียงของ ขึ้นห้วยทราย เข้าไปถึงสิบสองปันนา ทางมณฑลยูนนานแล้ว การเชื่อมจีนตอนใต้เพื่อเปิดเส้นทางสู่อาเซียนยังมีเส้นทางอื่น ๆ รวมประมาณ 5 เส้นทางที่น่าสนใจ โดย ดร. ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้รวบรวมเส้นทางทั้ง 5 เส้นทางที่ควรทราบไว้ดังนี้
เส้นทางแรก คุนหมิง-ยู่วี่-บ่อหาน-ไทย เส้นทางนี้ก็คือเส้นทาง R3A สามารถที่จะเดินทางโดยรถได้ตลอดเส้นทาง ซึ่งกำลังจะมีการปรับปรุงเรื่องระบบระเบียบการข้ามแดนเพื่อที่จะได้สามารถอำนวยความสะดวกด้านต่าง ๆ ให้มีความรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะหลังช่วงโควิด-19 ซึ่งหลังการเปิดใช้งานทางรถไฟจีน-ลาวปลายปี 2564 ที่ผ่านมา เส้นทางนี้จึงเป็นเส้นทางที่ใช้งานควบคู่ไปกับทางรถไฟมากยิ่งขึ้น
![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db992ffe13a50/62d90773bce28b3f1075de82_03.png)
เส้นทางที่สอง เป็นเส้นทางจากคุนหมิงเชื่อมเข้าฮานอย เป็นเส้นทางคุนหมิง-หยู่ซี-ด่านเหอโข่ว เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่มีสินค้าขนส่งไปเป็นจำนวนมาก จากฮานอยขึ้นไป สามารถเดินทางเข้าไปสู่เส้นทางยูนนานได้ โดยมีสะพานที่ชายแดนจีนและเวียดนาม กว่างซีมีบทบาทสำคัญมากขึ้นภายใต้โครงการ Belt and Road Initiative นอกจากนี้ ยังมีขบวนรถไฟที่แล่นผ่านทางรถไฟ จากเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ทางตอนใต้ของจีน เชื่อมโยงสินค้าจากจีนมายังเวียดนาม
เส้นทางที่สาม เป็นเส้นทางที่มาจากทางฝั่งตะวันตก จะเป็นเส้นทางคุนหมิง-หยู่ซี-ต้าหลี่ จุดนี้มีความสำคัญเพราะว่าหยู่ซีเป็นชายแดนที่มีศักยภาพเป็นอย่างมากระหว่างยูนนานกับเมียนมา เนื่องจากจุดนี้เป็นจุดที่มีการค้าขายมากที่สุด มีสินค้าผ่านแดนมากที่สุดในระหว่างมณฑลยูนนานทั้งหมด
![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db992ffe13a50/62d90811b840cd9ae10c499a_get-13-17.jpg)
เส้นทางที่สี่ เป็นเส้นทางที่มาจากคุนหมิง-เมืองเติ้ง-หยู่ซี-เหลียงซาน เพื่อที่จะเข้ามาทางเมืองเติ้งแต่จุดนี้ยังมีทางเชื่อมที่ขาดหายไประหว่างทางอีกมาก เส้นทางยังไม่สมบูรณ์ ยังต้องมีการพัฒนาสร้างเสริมบางช่วงไปอีก
เส้นทางที่ห้า ขึ้นไปทางทิศเหนือ จากคุนหมิง-ต้าหลี่-หัวเฉียว แล้วไปเชื่อมออกทางเมียนมาเข้าอินเดีย เส้นทางนี้สามารถใช้เดินทางขึ้นไปถึงทิเบตได้ด้วย ซึ่งเส้นทางนี้จะเป็นเหมือนกับห้าแยกในมณฑลยูนนาน เส้นทางนี้ยังไม่แล้วเสร็จ แต่เป็นเส้นทางสำคัญในอนาคตอีกเช่นเดียวกัน
![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db992ffe13a50/62d90843fb071c85e7936976_%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B5-%E0%B8%AD%E0%B8%B2.jpg)
จากวิสัยทัศน์ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ที่ประเทศจีนต้องการที่จะเป็น“หนึ่งศูนย์กลาง หนึ่งรัศมี สองระเบียง สามแนว และ หกภูมิภาค” โดยระเบียงแรกในสองระเบียง หมายถึง เมียนมา อินเดียและบังคลาเทศ ที่อยู่ทางด้านเอเซียใต้ ซึ่งก็ถือเป็นฝั่งตะวันตกของยูนนาน และอีกระเบียงคือ ทางเอเซียตะวันตกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ที่เชื่อมทั้งเมียนมา ลาว ไทย และเวียดนาม โดยมีแม่น้ำล้านช้าง(โขง) เป็นแม่น้ำเชื่อมต่อระหว่างประเทศ
ดังนั้น ภาพรวมของการเชื่อมต่อหรือ Connectivity ของจีนทำให้อาเซียนต้องติดตามและวางแผนเชื่อมต่อเพื่อสร้างโอกาสทางการค้าการลงทุนระหว่างกันต่อไป
![](https://cdn.prod.website-files.com/6063345cc13db992ffe13a50/62d908a694ed71274038feff_get-19-2.jpg)
--------------------------------------------------
Photo Credit: XinhuaSilk Road, NEWS.CN